091-816-5618

Contact Us
4 ไอเดียแต่งบ้าน สีห้องนอนถูกโฉลกตามปีเกิด 12 นักษัตร - บ้านเดี่ยว บ้านภูมิทรัพย์ ชัยภูมิ

4 เทคนิคขอสินเชื่อบ้านให้ผ่านฉลุย!

เมื่ออยากมีบ้านสักหลัง นอกจากมองหาบ้านที่ใช่แล้วเรายังต้องวางแผนกันอีกว่าจะซื้อแบบไหนดี ไม่ว่าจะวางแผนผ่อนดาวน์ มองหาธนาคารที่ใช่เพื่อขอสินเชื่อบ้าน รวมถึงต้องทำอย่างไรเพื่อ เตรียมตนเองให้พร้อมเพื่อเดินเรื่องขอซื้อกู้บ้าน

ดังนั้น เพื่อให้การขอสินเชื่อบ้านของเราง่ายขึ้น บ้านภูมิทรัพย์ มี 4 เทคนิคการขอสินเชื่อบ้านแบบเจาะลึก มากฝากค่ะ ตั้งแต่การทำความเข้าใจว่าธนาคารใช้เกณฑ์แบบไหน, เวลาเปรียบเทียบสินเชื่อบ้านต้องดูที่อะไร ไปจนถึงเทคนิคการจัดการเอกสารเพื่อขอสินเชื่อบ้าน ให้มีโอกาสกู้ผ้านเร็วขึ้น! มาเริ่มกันเลย…

1. รู้จักเกณฑ์ที่สถาบันการเงินใช้พิจารณาสินเชื่อ

แต่ละธนาคารเมื่อจะปล่อยสินเชื่อให้ผู้กู้ ก็ต้องพิจารณาข้อมูลของผู้กู้ในหลายด้าน แม้จะมีเงื่อนไขแตกต่างกัน ทว่าส่วนใหญ่แล้วเกณฑ์ที่สถาบันการเงินหรือธนาคารเลือกใช้จะดูจาก 2 เรื่องหลัก โดยข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สรุปไว้ว่า

อย่างแรก คุณลักษณะและความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อ ซึ่งสถาบันการเงินส่วนใหญ่จะใช้หลัก 5Cs” ประกอบด้วย

     1) Character คือ คุณลักษณะและความน่าเชื่อถือของผู้ขอสินเชื่อ วินัยในการใช้และการชำระสินเชื่อในอดีต ซึ่งบอกถึงความสามารถในการใช้หนี้และการบริหารจัดการสินเชื่อ เช่น ในกรณีบุคคลธรรมดาอาจพิจารณาอายุ อาชีพ สถานะภาพสมรส ส่วนกรณีผู้ขอสินเชื่อประกอบธุรกิจอาจพิจารณาประเภทของธุรกิจ ประวัติของผู้บริหาร ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ

     2) Capacity คือ ความสามารถในการจ่ายชำระหนี้คืนได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ รวมถึงความมั่นคงของรายได้ที่จะนำมาชำระหนี้ในอนาคต เช่น รายได้ในปัจจุบัน ภาระหนี้สินที่มีอยู่ ประวัติการชำระยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตและสินเชื่ออื่น ๆ

     3) Capital คือ เงินทุน สินทรัพย์ หรือเงินฝากของผู้ขอสินเชื่อ เพื่อเป็นหลักประกันการให้กู้ยืม ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในสินเชื่อธุรกิจ แม้ว่าสินทรัพย์เหล่านี้จะไม่ใช่แหล่งเงินสำหรับชำระหนี้ แต่จะเป็นแหล่งเงินสำรองสำหรับการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อในกรณีที่เกิดปัญหาไม่สามารถชำระหนี้ได้

     4) Collateral คือ ผู้ค้ำประกันหรือหลักประกันที่ผู้ขอสินเชื่อนำมาจำนำ หรือจำนองเพื่อให้สถาบันการเงินมีความมั่นใจและลดความเสี่ยงหากผู้ขอสินเชื่อไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ซึ่งสามารถให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนหรือนำหลักประกันมาขายทอดตลาดได้ตามที่กฎหมายกำหนด

     5) Conditions คือ ปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อรายได้ของผู้ขอสินเชื่อ เช่น เศรษฐกิจ เงินเฟ้อ ความมั่นคงในรายได้และการงาน ปัญหาสงคราม สิ่งแวดล้อม ที่มีผลกระทบต่อความเป็นไปได้ของโครงการลงทุนหรือรายได้ของผู้ขอสินเชื่อ ซึ่งจะมีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคต

และอย่างที่สองคือ นโยบายสินเชื่อของผู้ให้สินเชื่อ


เช่น ผู้ให้สินเชื่อบางรายอาจกำหนดว่าผู้ยื่นขอสินเชื่อต้องไม่มีประวัติการค้างชำระในช่วง 12 เดือนย้อนหลัง หรืองดให้สินเชื่อแก่ลูกค้าใหม่ในกลุ่มอาชีพหรือกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูง

ทั้งนี้ เห็นว่าธนาคารอาจมีโปรโมชั่น (บางช่วง) ตามนโยบายการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร อาทิ โปรโมชั่นอัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับผู้มีรายได้ 30,000 บาทขึ้นไป หรือกลุ่มอาชีพเฉพาะ อาทิ ข้าราชการ แพทย์ ฯลฯ หรือบางช่วงอาจปล่อยสินเชื่อน้อยลง เพราะนโยบายการให้สินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้น ตามบริบทและปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ตลอดจนความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้, หนี้ครัวเรือน  และหนี้เสีย (NPL) ในระบบเพิ่มสูงขึ้น เป็นตน

เมื่อเราเข้าใจแนวคิดของธนาคารแล้ว ย่อมเข้าใจว่าเกณฑ์ส่วนใหญ่ที่ธนาคารกำหนดในการปล่อยสิ้นเชื่อบ้าน คือต้องการเห็นถึงรายได้ของผู้กู้ ความสามารถในการชำระหนี้ และอื่น ๆ เป็นอย่างไร

ดังนั้น เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนขอสินเชื่อบ้าน เราอาจจำเป็นต้องมีการปรับเรื่อง ‘การเงินส่วนตัว’ ให้พร้อมด้วย เพื่อเพิ่มโอกาสให้กู้ผ่านง่ายขึ้น ลดเวลาการพิจารณา ช่วยให้ธนาคารอนุมัติไวขึ้น

2. เทคนิคปรับ ‘การเงินส่วนตัว’ ให้พร้อมกู้

เทคนิคแรก ‘เคลียร์หนี้’

เมื่อธนาคารจะให้สินเชื่อกับผู้กู้จะดูเรื่อง DSR หรือข้อมูลสักส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ ไม่เกิน 40% ของรายได้ ซึ่งพูดง่ายๆ คือ หากมีรายได้ที่ 10,000 บาทต่อเดือน ธนาคารอาจพิจารณาการให้สินเชื่อโดยดูว่า ผู้กู้มีภาระการผ่อนชำระเกิน 4,000 บาทต่อเดือนไหม

ดังนั้น หากผู้กู้ต้องการขอสินเชื่อในวงเงินที่สูงขึ้น นอกจากหาทางเพิ่มรายได้ให้มากขึ้นแล้ว ยังต้องจัดการหนี้สินที่มีอยู่ เพื่อให้ขอสินเชื่อได้วงเงินมากที่สุด

Tips: เทคนิคการเคลียร์หนี้ที่ง่ายที่สุด 

   1) รวบรวมหนี้ทั้งหมด ดูเราว่าหนี้อยู่มีอยู่เท่าไร มีหนี้ทั้งหมดกี่ก้อน แบ่งเป็นหนี้ประเภทใดบ้าง เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้เช่าซื้อรถยนต์ ฯลฯ

   2) พยายามจัดการหนี้ที่อัตราดอกเบี้ยสูงก่อน เช่น บัตรเครคิต, สินเชื่อส่วนบุคคล (อาจรวมถึงหนี้นอกระบบ) เพื่อลดภาระการชำระหนี้ในแต่ละเดือนลง
   3) วางแผนจัดการหนี้อย่างเป็นระบบ โดยอาจเริ่มต้นจากการวางแผนโป๊ะหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงก่อน หรือ ลองปรึกษาธนาคารเพื่อขอรีไฟแนนซ์สินเชื่อ และลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลง เป็นต้น

 

  • • เก็บเงินเพื่อเป้าหมายที่ต้องการ

ขั้นตอนนี้เป็นส่วนสำคัญ โดยเฉพาะหากเรามีบ้านที่ใช่ และรู้ราคาที่ต้องขอสินเชื่อบ้าน ย่อมต้องคำนวณถึง ‘เงินดาวน์’ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ต้องใช้ระหว่ากงารขอสินเชื่อบ้าน 

 

และที่สำคัญที่สุดคือ ความพร้อมในการผ่อนชำระในแต่ละเดือน เช่น หากต้องกู้บ้านราคารวม 4 ล้านบาท เบื้องต้นอาจคำนวณจาก สูตรคร่าวๆ ว่า ผ่อนบ้านล้านละ 7,000 บาท จะอยู่ที่เดือนละ 28,000 บาท โดยตัวเลขนี้อาจไม่ใช่ ค่างวดที่ผ่อน 3 ปีแรก แต่เป็นตัวเลขคร่าวๆ ที่คำนวณโดยรวมทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยของธนาคารในการผ่อนระยะเวลา 30 ปี

 

ดังนั้น ก่อนจะขอสินเชื่อบ้าน เราอาจต้องคำนวณ และวางแผนว่าจะบริหารการเงินอย่างไร เพื่อให้เราสามารถผ่อนได้อย่างสบายใจตลอดระยะเวลากู้

3. เปรียบเทียบสินเชื่อบ้านและเงื่อนไข

ปัจจุบันในไทยมีสินเชื่อบ้านให้เลือกหลากหลายธนาคาร แต่เราจะต้องเลือกจากอะไรบ้าง ว่า แบงก์ไหนให้เงื่อนไขคุ้มที่สุด?

  • • อย่างแรก อัตราดอกเบี้ย สินเชื่อบ้านในไทยมีหลายแบบ ส่วนใหญ่อาจจะมีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ (Fixed Rate) บางช่วง และผสมผสานกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว (Floating Rate) 


ตัวอย่างเช่น
หากเคยเห็นสินเชื่อบ้านที่ระบุว่า อัตราดอกเบี้ย 3 ปีแรก 3.99% ต่อปี ตั้งแต่ปีที่ 4 เป็น MRR -2% ต่อปี
ในส่วน 3.99% ต่อปี จะเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ ส่วนตั้งแต่ปีที่ 4 เป็นต้นไปจะขึ้นอยู่กับ อัตราดอกเบี้ย MRR ณ ขณะนั้นว่าอยู่ที่เท่าไร

ก็นำมากหักลบตามตัวเลข เช่นหาก MRR อยู่ที่ 7% อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 5%

 

ปัจจุบันเราอาจเคยเห็น อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว (Floating Rate) 3 แบบได้แก่


   1) MLR (Minimum Loan Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี 

   2) MOR (Minimum Overdraft Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทวงเงินเบิกเกินบัญชี

   3) MRR (Minimum Retail Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี

 

ทั้งนี้ เบื้องต้น ธปท. มีเว็บไซต์ให้เปรียบเทียบสินเชื่อบ้านโดยสามารถ คลิกที่นี่ แต่ยังต้องเข้าไปคุยกับธนาคารในรายละเอียด เพื่อที่เราจะได้รู้เงื่อนไขอย่างครบถ้วย 

อย่างไรก็ตามเทคนิคที่ง่ายที่สุดคือ เราอาจเลือกสินเชื่อบ้าน จากธนาคารที่ให้อัตราดอกเบี้ย 3 ปีแรกที่ต่ำที่สุด เนื่องจากเราอาจจะขอลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อหรือรีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้านได้หลังจากชำระหนี้ผ่านไป 3 ปีก็ได้

 

  • • ต่อมา ควรเปรียบเทียบเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น
    – อัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับอาชีพเฉพาะ

– ค่าสำรวจและประเมินหลักประกัน,
– ค่าธรรมเนียมกรณีไถ่ถอนสินเชื่อก่อนครบกำหนดเพื่อไปใช้บริการกับสถาบันการเงินอื่น (refinance)
– เงื่อนไขการใช้สินเชื่อควบคู่กับผลิตภัณฑ์อื่น เช่น การทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ (MRTA) การมีบัญชีเงินฝาก การใช้บริการหักบัญชีอัตโนมัติ
– ช่องทางการผ่อนชำระ เช่น จ่ายค่างวดผ่านแอปพลิเคชั่น และอื่น ๆ
เป็นต้น

 

• อีกทั้งส่วนสำคัญ ที่ธนาคารมักให้อัตราดอกเบี้ยที่ดีขึ้น คือ การทำประกันชีวิตแบบคุ้มครองสินเชื่อ หรือ MRTA ซึ่งเป็นประกันที่ผู้กู้สามารถทำไว้เมื่อซื้อบ้าน โดยมีความคุ้มครองที่ครอบคลุมสินเชื่อบ้านที่กู้ไว้ (ส่วนนี้ขึ้นอยู่กับว่า ผู้กู้มีการทำวงเงินประกัน และระยะเวลาในการกู้ไว้มากน้อยเพียงใด รวมถึงวงเงินเอาประกันขึ้นอยู่กับเงื่อนไขภายในกรมธรรม์) เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันเช่นการเสียชีวิตจะมีการจ่ายผลประโยชน์ของกรมธรรมประกันภัยที่ซื้อไว้ ให้แก่เจ้าหนี้ (ธนาคาร) ซึ่งหากวงเงินครอบคลุมทั้งหมดอาจจะทำให้ทายาทของผู้กู้ไม่ต้องมีภาระในการผ่อนชำระบ้านต่ออีก

ข้อสำคัญคือ เราไม่จำเป็นต้องทำ MRTA กับประกันที่ธนาคารเสนอขายเท่านั้น แต่สามารถเลือกซื้อประกัน MRTA ของบริษัทประกันภัยอื่นๆ ได้ โดยข้อมูลจากศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินระบุว่า

ทั้งนี้ การทำประกัน MRTA ไม่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อของธนาคาร แต่อาจได้รับการเสนออัตราดอกเบี้ยพิเศษ เนื่องจากเป็นการลดความเสี่ยงให้แก่ธนาคาร ซึ่งผู้กู้ควรพิจารณาความคุ้มค่าด้วย และหากเจ้าหน้าที่ธนาคารบอกว่า ถ้าผู้กู้ไม่ทำประกัน MRTA จะไม่อนุมัติสินเชื่อให้ หรือบังคับให้ทำกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง ขอให้ร้องเรียนไปที่ call center ของธนาคารนั้น ๆ และถ้าไม่ได้รับการแก้ไขปัญหา สามารถร้องเรียนมาที่ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.)

4. เตรียมเอกสารแน่น โอกาสกู้ผ่านเร็วขึ้น

เมื่อต้องขอสินเชื่อ ต้องเตรียมเอกสารพื้นฐานให้ครบอย่างไร วันนี้ บ้านภูมิทรัพย์ ชัยภูมิ รวบรวมรายละเอียดมาไว้ที่นี่แล้ว  (เทคนิค-กู้ร่วม)


4.1) เอกสารส่วนตัว เช่น
    ✧ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ

    ✧ สำเนาทะเบียนบ้าน

    ✧ กรณีนิติบุคคล อาจใช้สำเนาทะเบียนการค้า หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
    ✧ เอกสารอื่นๆ 


4.2) เอกสารเกี่ยวกับรายได้ เช่น 

    ✧ บัญชีเงินฝาก พร้อมสเตทเมนต์ (statement) ย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน

    ✧ หลักฐานรายได้หรือทรัพย์สินอื่นๆ เช่น ใบหุ้น พันธบัตรรัฐบาล บัญชีเงินฝากธนาคาร

 

   กรณีผู้มีรายได้ประจำ อาทิ
    ✧ ใบรับรองเงินเดือน หรือหลักฐานการรับ/จ่ายเงินเดือนจากนายจ้าง 

 .  ✧ สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร

   กรณี Freelance หรือผู้มีอาชีพอิสระ
    ✧ กรณีเป็นสัญญาจ้าง อาจใช้สำเนาสัญญาว่าจ้างและหลักฐานการจ่ายเงินค่าจ้าง
    ✧ กรณีมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เช่น แพทย์ ทนายความ ผู้สอบบัญชี วิศวกร สถาปนิก

   กรณีนิติบุคคล

    ✧ สำเนางบการเงินปีล่าสุด และย้อนหลังไม่น้อยกว่า 3 ปี

    ✧ สำเนาแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี

    ✧ แผนที่แสดงที่ตั้งสถานประกอบการ


4.3) เอกสารอื่น ๆ เช่น
    ✧ สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญามัดจำ
    ✧ สำเนาโฉนดที่ดิน หรือสำเนาหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์
    ✧ ในกรณีมีผู้กู้ร่วม จะต้องมีหลักฐานประจำตัว และหลักฐานรายได้ของผู้กู้ร่วม

ทั้งนี้ แต่ละธนาคารอาจขอเอกสารที่แตกต่างกัน เราควรเช็กรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของแต่ละธนาคาร หรือศึกษาข้อมูลเบื้องต้นได้ที่ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินได้ ที่นี่

และทั้งหมดนี้คือ ‘4 เทคนิค ขอสินเชื่อบ้าน ให้ผ่านฉลุย!’ ที่เราสามารถนำไปใช้ได้เตรียมตัวก่อนยื่นกู้ซื้อบ้าน หรืออาจนำไปปรับใช้กับการขอสินเชื่อประเภทอื่น ๆ ได้เช่นกันค่ะ

About Us
Phoomsap_Logo_Yellow
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ชัยภูมิภูมิทรัพย์
สำนักงานใหญ่ เลขที่ 124/4 หมู่ที่ 5 ต.ในเมือง
อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ 36000
Contact Info

091-816-5618

phoomsap.chaiyaphum@gmail.com

จังหวัดชัยภูมิ

Social Media

Phoomsap

Phoomsap

Phoomsap

Quick Link

All Projects

About

Contact Us

2023 Copyright | Chaiyaphoom Phoomsap All Rights Reserved