เพราะบ้านเป็นที่เราและครอบครัวอาจอาศัยอยู่ในระยะยาว ดังนั้นการเลือกซื้อบ้านควรเลือกให้ตอบโจทย์การใช้ชีวิตอย่างน้อยใน 3 ด้าน คือ
1.1) ประเภทของบ้านที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิต เนื่องจากทุกคนต่างมีรูปแบบการใช้ชีวิต และมีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น
– กรณีผู้ที่ใช้ชีวิตคนเดียว ที่ไม่ต้องการพื้นที่มากนัก อาจเลือกบ้านประเภททาวน์เฮาส์ ที่มี 1-2 ห้องนอนตามที่ต้องการ หรืออาจเลือกแปลนบ้านตามไลฟ์สไตล์ เช่น ชื่นชอบการทำอาหารอาจต้องการบ้านที่มีครัวปิด เป็นต้น
– กรณีที่มีสัตว์เลี้ยง อาจเลือกซื้อบ้านที่มีพื้นที่สวนตามที่ต้องการ
– กรณีอาศัยอยู่ทั้งครอบครัว อาจต้องมองหาบ้านที่มีจำนวนห้องนอนเพียงพอต่อผู้อยู่อาศัย มีหลายห้องน้ำ รวมถึงภายในบ้านอาจมีพื้นที่ส่วนกลางเพื่อใช้เวลาร่วมกันในครอบครัว โดยอาจเลือกเป็นบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ฯลฯ
1.2) ทำเลที่ตั้ง การเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เป็นข้อสำคัญที่ต้องคำนึงถึงอยู่เสมอ เช่น
– ความสะดวกในการเดินทาง เช่น ต้องเดินทางด้วยรถยนต์, มีรถสาธารณะ ฯลฯ
– สภาพแวดล้อมโดยรอบ เช่น ตรวจสอบว่าบริเวณใกล้เคียงบ้านมีสิ่งที่อาจสร้างความรบกวนไม่ว่าจะเป็นเสียง อากาศ หรือกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์หรือไม่ รวมถึงอาจตรวจสอบว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมก่อนซื้อ
– การเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น ตลาดสด ร้านค้า ร้านอาหาร โรงพยาบาล สถานีตำรวจ ฯลฯ
1.3) งบประมาณที่ต้องการซื้อ หนึ่งในเรื่องสำคัญที่เราต้องคิดก่อนเลือกซื้อบ้าน
คือ งบประมาณที่กำหนดไว้ ซึ่งจะช่วยให้คุณเจอบ้านที่ใช่ ขณะเดียวกันเมื่อต้องกู้ซื้อบ้านจะช่วยให้คุณเตรียมตัวเพื่อการขอสินเชื่อ และจัดสรรค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนได้ง่ายยิ่งขึ้น
เมื่อต้องการกู้ซื้อบ้านกับธนาคารสิ่งที่คุณต้องทำคือ วางแผนการเงินด้วยการ “เคลียร์หนี้และเตรียมเงิน (ออมเงิน) ให้พร้อม”
2.1) ทำไมเราต้องเคลียร์หนี้?
เพราะหากคุณต้องขอสินเชื่อบ้านจากธนาคาร ทางธนาคารจะต้องตรวจสอบว่า ผู้กู้มีประวัติการกู้ยืมและการชำระหนี้อย่างไร รวมถึงมีความสามารถในการชำระหนี้มากแค่ไหน
ดังนั้น เริ่มต้นที่การสำรวจและรวบรวมหนี้ของตนเองที่มีทั้งหมด และวางแผนจ่ายหนี้ หากมีหนี้ที่อัตราดอกเบี้ยสูง เช่น บัตรเครดิต โดยอาจจะวางแผนโป๊ะหนี้ให้หมดก่อนยื่นขอสินเชื่อบ้าน เป็นต้น
2.2) วางแผนออมเงิน
เริ่มคำนวณว่าพร้อมจ่ายค่างวดเดือนละเท่าไร ขั้นตอนนี้สามารถทำควบคู่กับการเคลียร์หนี้ โดยเริ่มที่สำรวจช่องทางรายได้ที่มีในแต่ละเดือน เมื่อหักลบค่าใช้จ่ายและชำระหนี้อื่น ๆ แล้วเราจะสามารถคำนวณได้แล้วว่า เราพร้อมที่จะจ่ายค่างวดการผ่อนบ้านที่เดือนละเท่าไร
เช่น หากผู้กู้มีรายได้รวมที่ 30,000 บาทต่อเดือน หักลบค่าใช้จ่ายส่วนตัวที่ 8,000 บาท และหักลบยอดสินเชื่อค้างชำระบัตรเครดิตอีกเดือนละ 4,000 บาท เท่ากับว่าคุณจะมีเงินคงเหลือเดือนละ 18,000 บาท
แต่เบื้องต้น ธนาคารมีเงื่อนไขกำหนดให้ผู้กู้มีภาระผ่อนชำระหนี้ได้ไม่เกิน 40% ของรายได้ต่อเดือน หากเราคำนวณจากสูตรนี้จะพบว่า ด้วยรายได้ 30,000 บาทต่อเดือน
เบื้องต้นธนาคารจะประเมินว่า ผู้กู้มีความสามารถในการชำระหนี้ (จำนวนเงินที่ผ่อนได้ต่อเดือน) 12,000 บาท แต่เมื่อหักลบหนี้บัตรเครดิตที่ 4,000 บาท
หากผู้กู้ยื่นขอสินเชื่อบ้านกับธนาคารอาจประเมินว่า ผู้กู้มีความสามารถในการชำระหนี้อยู่ที่ 8,000 บาท ก็จะได้วงเงินสินเชื่อตามจำนวนเงินที่ผ่อนได้ต่อเดือ ดังนั้น หากผู้กู้อยากขอสินเชื่อได้วงเงินมากขึ้นควรเคลียร์หนี้ให้ได้มากที่สุด
นอกจากนั้น สิ่งที่สำคัญควรเริ่มวางแผนการออมเงิน เพื่อเตรียมสำหรับการดาวน์บ้าน ตลอดจนออมเงินเผื่อค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการขอสินเชื่อบ้าน เช่น ค่าธรรมเนียมการจดจำนอง ฯลฯ เป็นต้น
ก่อนจะเลือกว่าขอสินเชื่อบ้านกับธนาคารใด เราควรเปรียบเทียบรายละเอียดและเงื่อนไขสำคัญเพื่อความคุ้มค่า ได้แก่
ทำความเข้าใจ ‘อัตราดอกเบี้ย’
อย่างแรกเราควรรู้จักปะเภทของ ‘ดอกเบี้ยเงินกู้’ ที่ผู้กู้รายย่อยอย่างเราต้องเจอบ่อย ๆ เช่น MLR, MRR, MOR ซึ่งหลายคนอาจจะยังสงสัยว่ามันคือออะไร ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ให้คำนิยามไว้ว่า คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์ใช้อ้างอิงในการเรียกเก็บดอกเบี้ยเงินกู้จากลูกค้า ซึ่งมีลักษณะเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว (Floating Rate) อธิบายสรุปให้เข้าได้ง่าย ๆ ดังนี้
ตัวอย่างเช่น : “อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 4% ปีที่ 4 เป็นต้นไปอยู่ที่ MRR-1%”
หมายความว่า ในช่วง 3 ปีแรก ผู้กู้จะได้รับเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ (Fixed Rate) ที่ 4% และหลังจากปีที่ 4 เป็นต้นไป ต้องจ่ายดอกเบี้ยแบบลอยตัวเท่ากับ MRR-1%
สมมติว่า อัตราดอกเบี้ย MRR ของธนาคาร A ณ ขณะนั้น อยู่ที่ 7% ดังนั้น เท่ากับว่าตั้งแต่ปีที่ 4 เป็นต้นไป เราต้องจ่ายดอกเบี้ย อยู่ที่ 6% นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่ปีที่ 4 ผู้กู้อาจสามารถตกลงกับธนาคารเพื่อขอลดอัตราดอกเบี้ยลง หรือรีไฟแนนซ์ไปยังธนาคารอื่นที่มีเงื่อนไขดีกว่าก็ได้
ทั้งนี้ เราสามารถหาข้อมูลอัตราดอกเบี้ยเหล่านี้ได้จากเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย และะเว็บไซต์ของธนาคารพาณิชย์ที่เราต้องการยื่นกู้ซื้อบ้าน
เมื่อเราเตรียมตัวมาครบทุกด้านก็ถึงเวลา ต้องเตรียมเอกสารพื้นฐานเพื่อยื่นสินเชื่อกันแล้ว ว่าแต่เราต้องเตรียมอะไรบ้าง?
4.1) เอกสารส่วนตัว เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน เป็นต้น
4.2) เอกสารเกี่ยวกับรายได้ เช่น บัญชีเงินฝาก พร้อมสเตทเมนต์ (statement) ย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน, หลักฐานรายได้หรือทรัพย์สินอื่นๆ เช่น ใบหุ้น พันธบัตรรัฐบาล บัญชีเงินฝากธนาคาร เป็นต้น
4.3) เอกสารอื่น ๆ เช่น สำเนาสัญญาบ้านที่จะซื้อจะขาย, สำเนาโฉนดที่ดิน, เอกสารของผู้กู้ร่วม เป็นต้น
อย่างไรก็ตามแต่ละธนาคารอาจขอเอกสารที่แตกต่าง เราควรเช็กรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของแต่ละธนาคาร หรือศึกษาข้อมูลเบื้องต้นได้ที่ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน
091-816-5618
phoomsap.chaiyaphum@gmail.com
จังหวัดชัยภูมิ
Phoomsap
Phoomsap
Phoomsap
All Projects
About
Contact Us
2023 Copyright | Chaiyaphoom Phoomsap All Rights Reserved